วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การนึกภาพก่อนเลือกแบบบ้าน

หลาย ๆ คนที่สร้างบ้าน มักจะมองแบบบ้านของตัวเอง ในมุมสูง หรือทำตัวเป็นนก บินอยู่บนอากาศแล้วมองลงมา ซึ่งจริง ๆ แล้วเราทำแบบนั้นไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าวิธีมองในมุมสูงนั้นไม่จำเป็น แต่สิ่งที่คุณควรทำในการมองแบบบ้านคือการนึกภาพตัวเองกำลังเดินเข้าบ้านต่างหาก ดังนั้นเวลาเราจะสร้างบ้าน ให้นึกถึงว่า คุณกำลังเดินไปในบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แล้วลองจินตนาการดูว่า ถ้าหันซ้ายจะเป็นห้องอะไร หันขวาจะเป็นห้องอะไร และที่สำคัญควรจะนึกถึง ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวบ้านรวมทั้งตัวคุณด้วย เช่น แสงแดดส่องไปทางไหน ลมพัดเข้าทางไหน หรือว่า ฝนสาดไปทางไหน 
            บางคนเวลาจะสร้างบ้านสักหลัง มักจะวาดแปลนบนกระดาษ คร่าว ๆ แต่ไม่นึกถึง การใช้งานจริง และความต่อเนื่องของห้องต่าง ๆ เช่น บางคนขอให้มีห้อง นอนครบ3ห้อง ก็พอ จะจัดไว้ตรงไหนก็ได้ โดยไม่นึกถึงว่า สภาพแวดล้อมภายนอกจะเป็นอย่างไร บางครั้ง ก็ได้ห้องนอน ที่หันหัวติดกับครัวบ้าง จะย้ายก็ไม่ได้ เพราะติดห้องน้ำอีก หรือ ติดประตูบ้าง สุดท้ายก็ได้บ้นที่ไม่ถูกใจ จนแทบอยากจะทุบทำใหม่ให้รู้แล้วรู้รอด
             ในการจัดวางห้องต่าง ๆ จึงควรดูจากสภาพแวดล้อมภายนอก ให้มากที่สุด เช่นดูทิศทางแสงแดดยามเช้า เที่ยงเย็น ทิศทางลมที่พัดเข้าตัวบ้าน ทิศทางที่ฝนสาด สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวม ถ้านึกถึงสิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณได้บ้านที่ถูกใจ ไม่เป็นปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ร้อนบ้าง ฝนสาดบ้าง ในภายหลัง แถมถ้าจัดถูกที่ถูกทาง จะทำให้ประหยัด ได้อีกด้วย
read more "การนึกภาพก่อนเลือกแบบบ้าน"

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกิดปัญหากับ สถาปนิก และ วิศวกร ร้องทุกข์ที่ไหนดี

ย้ำก่อนว่าคุณจะร้องเรียนปัญหาได้ก็ต่อเมื่อปัญหานั้น เกี่ยวข้องกับ จรรยาบรรณ ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ของวิศวกร หรือ สถาปนิกเท่านั้น เช่น เสาเข็มในแบบ ระบุว่าให้ใช้เข็มยาว 7 เมตร แต่เวลาตอกจริง เข็มเหลือแค่ 5 เมตร ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้คุณสามารถที่จะร้องเรียน หรือ ร้องทุกข์ได้หากว่าเกิดการตกลงกันไม่ได้ และถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นให้ดำเนินการดังนี้
        ร้องทุกข์  คุณสามารถไปขอคำปรึกษา หรือ ร้องทุกข์ได้ที่ สมาคม สถาปนิกสยาม หรือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งตรงส่วนนี้คุณจะได้คำแนะนำที่ถูกต้องมากที่สุด และฟรี ไม่เสียเงิน
        ทำหนังสือร้องทุกข์  ในส่วนนี้จะเป็นทางการสักหน่อย ก็คือทำเป็นหนังสือ ไปร้องทุกที่ สภาวิศวกร หรือ สภาสถาปนิก ซึ่งควรจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อ วิธีแรกนั้นไม่ได้ผล
        ฟ้องศาลสถิตยุติธรรม  ถ้าแจ้งทาง สภาวิศวกร หรือ สภาสถาปนิกไปแล้ว ยังไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ฟ้องศาลได้เลยครับ
read more "เกิดปัญหากับ สถาปนิก และ วิศวกร ร้องทุกข์ที่ไหนดี"

ราคาค่าออกแบบ คิดกันอย่างไร

ผมได้แบ่ง ค่าบริการออกแบบไว้หลายแบบ แล้วแต่ว่าคุณจะไปเจอแบบไหน ซึ่งมีตั้งแต่ แบบคิดกันเป็นทางการ และคิดกันแบบเพื่อนสนิท ก็มีซึ่งมีอยู่หลายกรณีดังนี้
กรณีที่ 1 ราคาตามมาตรฐานสมาคมสถาปนิกสยาม
            ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท ได้แก่
            ประเภทที่1 ตกแต่งภายใน ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์
            ประเภทที่2 พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคาร อนุสรณ์ที่วิจิตร
            ประเภทที่3 บ้าน เฉพาะตัวบ้านไม่รวมตกแต่งภายใน
            ประเภทที่4 โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย รัฐสภา
            ประเภทที่5 สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงงาน อุตสาหกรรม
            ประเภทที่6 โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
        
            จากนั้นเอาประเภทของงานไปหาราคาออกแบบ

   ประเภท   ไม่เกิน10ล้าน   10-30ล้าน   30-50ล้าน   50-100ล้าน   100-200ล้าน   200-500ล้าน
       1            10.0%         7.75%       6.50%        6.00%           5.25%            4.50%
       2            8.50%         6.75%       5.75%        5.50%           4.75%            4.25%
       3            7.50%         6.00%       5.25%        5.00%           4.50%            4.00%
       4            6.50%         5.50%       4.75%        4.50%           4.25%            3.75%
       5            5.50%         4.75%       4.50%        4.25%           4.00%            3.50%
       6            4.50%         4.25%       4.00%        3.75%           3.50%            3.25%
     
ในการคิดราคาก็อย่างเช่นถ้าหากว่าคุณจะสร้างบ้าน คุณก็ดูว่าบ้านอยู่ในการออกแบบประเภทที่3 คุณก็ดูว่าราคาบ้านมีมูลค่าเท่าไร แล้วเอามาเทียบในตาราง เช่น
                           บ้านราคา             1 ล้านบาท
                           ค่าออกแบบเท่ากับ 7.5% = 75,000 บาท
แต่ถ้าหากว่าราคาแพงกว่านั้นเช่น
                           บ้านราคา            15 ล้านบาท
                           ค่าออกแบบ10ล้านแรก=750,000 บาท=7.5%
                           ส่วน อีก 5 ล้านเหลือ   =300,000 บาท=6.0%
                           รวมค่าออกแบบทั้งหมด ก็จะเป็น 1,050,000 บาท

จะเห็นว่าค่าออกแบบนั้นราคาค่อนข้างสูงมาก แต่ถ้าคุณมีคนที่หรือจัก หรือหาผู้ที่รับออกแบบโดยคิดราคาแบบเหมาจ่ายได้ ซึ่งในปัจจบันการแข่งขันในงานด้านนี้ก็ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการหรือวิศวกรต่าง ๆ หาวิธีที่จะดึงดูดลูกค้าเพื่อหาเงินกันเยอะ ทำให้ราคาค่อนข้างถูกลง

กรณีที่2 แบบเหมาจ่าย วิธีนี้จะใช้ได้กับการออกแบบ อาคารขนาดเล็กราคาประมาณ 5 แสน - 1 ล้าน บาท หรืออาจจะสูงกว่านี้ได้นิดหน่อย แล้วแต่ผู้รับจ้างจะรับออกแบบหรือไม่ โดยราคาก็อยู่กับความ ยากง่ายของงาน อาจจะมีราคาตั้งแต่ หลักพันบาท ไปจนถึง หลายหมื่นบาท แต่ก็ยังถูกกว่า กรณีแรกอยู่มาก
ซึ่งวิธีนี้เกิดจาก เทคโนโลยีการออกแบบ ที่เข้ามา มีบทบาท เมื่อก่อนนั้น กว่าจะได้บ้านสักหลัง ต้องใช้ปากกาวาดบรรจงเขียนทีละเส้น ซึ่งบ้านหนึ่งหลังอาจจะใช้เวลานานหลายวัน แต่เดี๋ยวนี้ อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 3 วันในการออกแบบบ้านหนึ่งหลัง รวมทั้งการออกแบบโครงสร้างของวิศวกรแล้ว อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ 

แม้ว่าผู้ว่าจ้างอยากจะได้ ราคาค่าออกแบบที่ถูกมากขนาดไหน แต่ก็ไม่ควรลืมว่า คุณภาพของงานที่ได้มานั้นต้องดี และสามารถใช้งานได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง หรือถ้าหากว่ามีส่วนไหนของแบบที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อสอบถามไปยังผู้ออกแบบ ก็ควรจะได้รับคำตอบ หรือ วิธีแก้ไข โดยไม่ทิ้งงานไป หรือว่า ออกแบบแล้วก็แล้วกัน ทำได้ไม่ได้อีกเรื่อง  สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่า ทุกบาททุกสตางค์ที่คุณจ่ายไปคุ้มค่าหรือไม่
read more "ราคาค่าออกแบบ คิดกันอย่างไร"

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จะสร้างบ้านเริ่มอย่างไรดี


เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องง่าย ๆ สำหรับคนที่เป็นช่าง ทั้งหลาย แต่ว่าสำหรับคนที่ไม่รู้อะไรเลย บทความนี้ อาจจะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ซึ่งผมจะแยกไว้เป็นหลายกรณีเพื่อให้เป็นแนวทางได้ศึกษาต่อครับ

กรณีที่1 ถ้าคุณไม่ต้องการความยุ่งยากมาก ต้องการแบบรวดเดียวเสร็จจบกระบวนการ คุณก็ควรเดินไปที่บริษัทรับเหมาสร้างบ้าน หรือหาตามเวปไซต์ต่าง ๆ เพื่อติดต่อให้บริษัทเหล่านั้นมาสร้างบ้านให้แก่คุณ คุณก็ไม่ต้องทำอะไรมากแค่เลือกแบบที่ต้องการ และเลือกวัสดุที่บริษัทเหล่านั้นนำมาเสนอ ก็ส้รางบ้านได้ และมีราคาค่าก่อสร้าง ที่ตายตัวหากไม่ทำการแก้ไขแบบ แต่คุณอาจจะได้แบบบ้านที่ไม่ตรงใจ หรือตรงกับในจินตาการสักเท่าไร

กรณีที่2 ถ้าอยากได้แบบบ้านที่ถูกใจเป๊ะ คุณต้องไปติดต่อสถาปนิก เพื่อที่จะออกแบบบ้านให้ตรงใจของคุณ ตรงนี้คุณจะต้องเสียเงินเป็นค่าออกแบบอีก แต่รับรองถูกใจเจ้าของบ้านแน่ ซึ่งควรจะเลือกผู้ออกแบบที่รู้จักกันเพื่อประหยัดค่าออกแบบด้วย แต่ถ้าไม่มีคนที่รู้จัก ตามเวปไซต์ต่าง ๆ ก็สามารถช่วยคุณได้  ซึ่งวิธีนี้อาจจะทำให้ ราคาบ้านเกินงบ ออกไปสักหน่อย แต่ก็ได้บ้านที่ถูกใจ ทั้งรูปทรง และวัสดุที่ใช้ เชียวล่ะ

   
read more "จะสร้างบ้านเริ่มอย่างไรดี"